วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การออกแบบผลิตภัณฑ์

  


(  แหล่งที่มา : http://www.google.co.th/search?source=lnms&tbm=isch&sa=

 1. การออกแบบผลิตภัณฑ์   หมายถึง       การออกแบบ คือ กระบวนการสร้างสรรค์ประเภทหนึ่งของมนุษย์มีความสวยงามโดดเด่น โดยใช้องค์ประกอบของทฤษฏีต่างๆ และใช้วัสดุนานาชนิดเป็นวัตถุดิบในการสร้างสรรค์ผลงานเพื่อสนองความต้องการในการดำรงชีวิตประจำวันให้มีความสะดวกสบายขึ้น หรือเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นทางกายภาพ หรือเพื่อพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของมนุษย์ให้มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าเดิม        การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผนเป็นขั้นตอน และรู้จักเลือกใช้วัสดุ และวิธีการทำ ให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบและคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด ตามความคิดสร้างสรรค์       การออกแบบ หมายถึง การปรับปรุงผลงาน หรือสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม มีความแปลกใหม่เพิ่มขึ้น เช่น เก้าอี้นั่งที่ใช้มานานๆ เราสามารถปรับปรุง ให้เป็นรูปแบบใหม่ สวยงาม แปลกกว่าเดิม แต่ยังคงความสะดวกสบายในการใช้งาน เหมือนได้เดิมหรือดีกว่าเดิม เป็นต้น       การออกแบบ หมายถึง การรวบรวมหรือการจัดองค์ประกอบทั้งที่เป็น 2 มิติ และ3มิติเข้าด้วยกันอย่างมีหลักเกณฑ์โดยนำองค์ประกอบของการออกแบบมาคิด รวมกันและคำนึงถึง ประโยชน์ใช้สอย ความงามอันเป็นคุณลักษณะสำคัญของการออกแบบ การออกแบบเป็นศิลปะของมนุษย์ เกิดจากการสร้างค่านิยมทาง ความงามและสนองคุณประโยชน์ทางกายภาพให้แก่มนุษย์                      ( แหล่งที่มา :  http://esan.nfe.go.th/elearning/courses/67/chap7_1.hm )
   2. การออกแบบผลิตภัณฑ์   หมายถึง     การออกแบบt  เป็นกิจกรรมของมนุษย์ ที่ควบคู่กับการดำรงชีวิต  เพราะในการดำรงชีวิตของมนุษย์นั้น  จะต้องมีการกำหนด มีการวางแผนเป็นขั้นตอนต่างๆ  เพื่อให้บังเกิดความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ            นิยามของการออกแบบ-          กิจกรรมทางด้านการแก้ปัญหา  โดยมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน (Archer )
-          เป็นผลิตผลสัมพันธ์  ที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ (Gregory )
-          เป็นองค์ประกอบ (factor ) ของชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์  ที่มีเงื่อนไขที่นำสู่ตลาด  เป็นการวางแบบรูปร่างชิ้นส่วน  เพื่อที่จะนำสู่ผู้ใช้ ( Fan )
-          คือการกระโดดจากปัจจุบันถึงอนาคต   หรือเป็นการก้าวจากเก่าไปสู่ใหม่ (Page )
-          การค้นหาส่วนประกอบทางด้านกายภาพ ( Body )   อันถูกต้องของรูปธรรม และโครงสร้าง ( Alexander , 1950 )
-  เป็นการแก้ไขปัญหา  ซึ่งเป็นข้อสรูปผลของความต้องการ ในสถานการณ์ชุดใดชุดหนึ่ง ( Matchett ,1968 )
-  เป็นการแก้ไขปัญหา  ซึ่งเป็นข้อสรูปผลของความต้องการ ในสถานการณ์ชุดใดชุดหนึ่ง
-    การรู้จักวางแผนจัดตั้งขั้นตอน และรู้จักเลือกวัสดุวิธีการเพื่อทำตามที่ต้องการ  โดยให้สอดคล้องกับรูปแบบ  และคุณสมบัติของวัสดุแต่ละชนิด  ตามความคิดสร้างสรรค์
-    การปรับปรุงผลงานหรือสิ่งต่างๆที่มีอยู่แล้ว  ให้เหมาะสมและมีความแปลกใหม่เพิ่มขึ้น
-    กระบวนการที่สนองความต้องการในสิ่งใหม่ๆ ของมนุษย์  ซึ่งส่วนใหญ่เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด  และมีความสะดวกสบายเพิ่มขึ้น
                                            ( แหล่งที่มา : http://netra.lpru.ac.th/~weta/ch-2/ )   3. การออกแบบผลิตภัณฑ์   หมายถึง   การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้   1. ความเป็นหน่วย (Unity) ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน
   2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing) เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ
     2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing) คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย
     2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)
     2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง
   3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts) 
ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่
          3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest)          3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate)           3.3 จังหวะ ( Rhythem)           3.4 ความต่างกัน ( Contrast)           3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)                              
                       ( แหล่งที่มา : http://advertising.clickingme.com/index.php/2009 )


สรุป    การออกแบบผลิตภัณฑ์     หมายถึง กระบวนการที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสวยงามยิ่งขึ้น และ การออกแบบสิ่งของเครื่องใช้ เพื่อนำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยเน้นการผลิตจำนวนมาก ในรูปสินค้า เพื่อให้ผ่านไปยังผู้บริโภค[consumer]ในวงกว้าง โดยที่รูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์จะเป็นปัจจัยสำคัญ ชักจูงผู้บริโภคให้เกิดอยากซื้อผลิตภัณฑ์นั้น








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น