วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

สบู่มะขามเปียก



โครงงานสบู่จากมะขามเปียก

บทนำ

            ที่มาและความสำคัญ  สบู่ เป็นเครื่องสำอางชนิดหนึ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย กระบวนการผลิตสบู่มีการเพิ่มส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อให้สบู่มีสรรพคุณตรงตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น เช่น มีสีสันที่สวยงามน่าใช้ มีกลิ่นหอม และมีสรรพคุณทางยา  ในทางการค้ามีการใช้สารสังเคราะห์เพิ่มขึ้นทำให้ผลิตภัณฑ์น่าใช้ บรรจุภัณฑ์สวยงามแต่แฝงไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตราย มีพิษตกค้างและราคาสูง ปัจจุบันมีสบู่มากมายหลายชนิดให้ได้เลือกใช้ตามความเหมาะสมและความชอบของแต่ละบุคคล  แต่จะมีใครทราบหรือไม่ว่าสบู่ส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ล้วนแล้วแต่มีส่วนผสมที่เป็นพิษของสารซักฟอกและสารเคมีและเศษที่หลงเหลือในอุตสาหกรรมจากการกลั่นน้ำมันและปิโตรเลียมเคมีรวมถึงวัตถุกันเสีย ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนส่งผลร้ายต่อสัตว์และคนและที่มากกว่านั้นคือผิวสามารถดูดซึมของเสียเหล่านี้ได้ถึง 60%
        คณะผู้จัดทำจึงได้มีแนวคิดในการนำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ แทนการใช้สารเคมีสังเคราะห์ พืชสมุนไพรที่ใช้มีสาระสำคัญและมีสรรพคุณทางยา เช่น มีน้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นเฉพาะใช้ในการบำบัดโรค มีสีสันสวยงาม หาง่าย   ราคาถูก ประหยัด ปลอดภัย ไร้สารสังเคราะห์ และไม่มีพิษตกค้าง ทำให้สบู่สมุนไพรที่ผลิตขึ้นจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติมีคุณลักษณะเฉพาะที่หลากหลาย จึงเป็นบทพิสูจน์ให้เห็นถึงความมหัศจรรย์ของสบู่สมุนไพรที่มีคุณค่ายิ่งของภูมิปัญญาไทย
        จากการศึกษาสรรพคุณของมะขามเปียกพบว่ามะขามเปียก เป็นสมุนไพรคู่ครัวไทยที่มีสรรพคุณเป็นกรด มี AHA ในปริมาณที่สามารถใช้ขัดผิวหน้า ผิวตัว หรือแม้กระทั่งจุดแห้งกร้าน ให้เนียนนุ่ม  ขจัดกลิ่นตัวและไม่มีผลข้างเคียงใดๆต่อผิว ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะนำมะขามเปียกมาทำเป็นสบู่สมุนไพรมะขามเปียก

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาอัตราส่วนของมะขามเปียกต่อสบู่ที่ใช้ในการทำสบู่สมุนไพรมะขามเปียกแล้วทำให้ผู้ใช้มีผิว
เนียนนุ่ม  ไม่มีกลิ่นตัว และไม่เกิดการแพ้
     ขอบเขตของการศึกษา
ระยะเวลาที่ทำการศึกษา เดือน มิถุนายน-กันยายน  พ.ศ. 2557
     สมมติฐาน
เมื่อเพิ่มปริมาณมะขามเปียกในการทำสบู่จะทำผู้ใช้มีผิวเนียนนุ่ม ไม่มีกลิ่นตัว และไม่เกิดการแพ้  ผิวสะอาดขึ้น

     ตัวแปร
ตัวแปรต้น          ปริมาณมะขามเปียกที่ใช้ในการทำสบู่
ตัวแปรตาม         ความเนียนนุ่มของผิว  ไม่มีกลิ่นตัว และไม่เกิดการแพ้

ตัวแปรควบคุม     ปริมาณสบู่ที่ใช้ในการทำสบู่สมุนไพรมะขามเปียก จำนวนครั้งที่ผู้ใช้ทดลองใช้  เพศของผู้                          ทดลองใช้ อายุของผู้ทดลองใช้

     นิยามเชิงปฏิบัติการ
        ความสะอาดของผิวกาย  สบู่สมุนไพรจากมะขามธรรมชาติที่ทำขึ้น ทำมาจากมะขามที่ได้จากธรรมชาติ ไม่มีสารเคมีปนเปื้อน ก็เพื่อที่จะไม่ให้มีสารพิษตกค้างในร่างกาย  โดยสบู่ที่ได้มานั้นจะไม่มีสารพิษหรือสารเคมีใดๆที่จะตกค้างภายในร่างกายของเรา เมื่อเรานำสบู่ที่ทำมาใช้ เพราะส่วนผสมที่นำมาทำนั้น  ล้วนแล้วแต่ทำมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น  เพื่อให้ได้สบู่สมุนไพรตามความต้องการของผู้ใช้โดยที่ปราศจากสารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว     ผิวหนังของคนเราต่างกันเราจึงเลือกใช้สบู่ที่ต่างชนิด ดังนั้น  เราจึงสามารถทำเองได้ สมุนไพรที่ใช้ก็หาได้ง่ายในท้องถิ่นราคาไม่แพงและยังให้ประโยชน์ต่อผิวเราได้ดีอีกด้วย การทำความสะอาดร่างกายหรือผิวกายให้สะอาดเป็นเรื่องที่ทำได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ เท่าทุกวันนี้ เพราะสิ่งสกปรกและคราบมันต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ไม่อาจรวมตัวกับน้ำได้ สังเกตง่าย ๆ เมื่อเราเทน้ำผสมน้ำมัน มันจะแยกชั้นกันอย่างชัดเจน ร่างกายของเรานั้น มักจะผลิตน้ำมันออกมาตลอดเวลา การอาบน้ำธรรมดา ก็เป็นเพียงการชะล้างฝุ่นออกไปจากร่างกาย แต่ก็ไม่ได้สะอาดหมดจดจริงอยู่ที่ว่าจะสะอาดมากหรือน้อย สบู่บางชนิดมีการระคายเคืองในบางคน และการสะสมสารเคมี ไว้ที่ผิวกาย ทุกวัน ๆ มาจนถึงวันนี้ เราก็ไม่รู้ว่าสะสมมามาก-น้อยเท่าไหร่ สบู่ที่ดีจะต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จำเป็นและมีประโยชน์ต่อผิว ซึ่งนอกจากจะทำให้สบู่ที่ได้ทำความสะอาดผิวได้ดีแล้ว ยังสามารถบำรุงผิวได้อีกด้วย สบู่เป็นสิ่งที่เราต้องใช้เป็นประจำทุกวัน เราก็ต้องการสบู่ที่มีคุณภาพและปลอดภัย

อุปกรณ์และวิธีดำเนินการ
การดำเนินการจัดทำโครงงานในครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินการดังนี้
3.1   วัสดุ-อุปกรณ์และสารเคมี
1.       เนื้อสบู่           
2.       น้ำธรรมดา 
3.       น้ำหอม  
4.       มะขามเปียก
5.       น้ำผึ้ง 
6.       หม้อและเตาสำหรับต้มสบู่
7.       พิมพ์รูปแบบต่าง ๆ ใช้พิมพ์ทำขนมก็ได้

1.2             วิธีดำเนินการ
3.2.1   วิธีการทำสบู่มะขามเปียก
การเตรียมน้ำมะขามเปียกและสบู่ที่ใช้ในการทำสบู่สมุนไพรมะขามเปียก
1.นำมะขามเปียก 3 ขีด แกะเอาเมล็ดและเส้นใยออกให้หมด นำไปแช่และคั้นในน้ำปริมาตร 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร 



2.นำเนื้อสบู่ที่เป็นชิ้นเล็กๆ  (อาจใช้เนื้อสบู่ที่เป็นแท่งมาขูดกับที่ขูดมะละกอหรือจะใช้มีดหั่นก็ได้)  จำนวน 3 ขีด



3.นำสบู่  3 ขีด   มะขามเปียกจำนวน 100  ลูกบาศก์เซนติเมตร และน้ำ 500  ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่หม้อ






4.เอาส่วนผสมใส่หม้อตั้งไฟอ่อน ๆ กวนจนส่วนผสมทั้งหมดเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ปิดไฟ ยกลงจากเตา



5.ตักส่วนผสมใส่พิมพ์ตามชอบ ใช้น้ำมันมะกอกทาพิมพ์นิดหน่อยเพื่อให้แคะสบู่ออกจากพิมพ์ได้ง่าย




6.พักสบู่ที่ได้ให้เนื้อสบู่แข็งตัว แคะออกจากพิมพ์ จะได้สบู่จากมะขามเปียกตามต้องการ

7.ทำซ้ำข้อ 1-5 แต่เปลี่ยนปริมาณน้ำมะเปียกเป็น200 ลูกบาศก์เซนติเมตร ตามลำดับ 


สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
       
      จากการทดลองครั้งนี้พบว่า สบู่มะขามเปียกทั้งสองแบบ สามารถทำให้ผิวเนียนนุ่มและสะอาดในปริมาณที่ต่างกัน โดยสังเกตผลของการเปรียบเทียบการทดลองระหว่างการใช้สบู่ทั้งสองแบบ   โดยสบู่แบบที่  ทำให้ผิวเนียนนุ่มไม่มากนัก  ทำให้ผิวสะอาดพอสมควร  สบู่แบบที่ 2 ทำให้ผิวเนียนนุ่มมากขึ้น  สะอาดมากขึ้นกว่าสบู่แบบที่ 1 สรุปได้ว่าการทดลองดังกล่าวสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้คือ เมื่อเพิ่มปริมาณมะขามเปียกในการทำสบู่จะทำผู้ใช้มีผิวเนียนนุ่ม ไม่มีกลิ่นตัว และไม่เกิดการแพ้  ผิวสะอาดขึ้น

ประโยชน์
1.สามารถลดปริมาณค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้โดยการทำสบู่ขึ้นเอง
2.เป็นการนำสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์
สูงสุด
 3.สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4.ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นจากการศึกษาค้นคว้าและทดลอง ในครั้งนี้

ปัญหา
1.ถ้าใส่น้ำเยอะเกินไปทำให้สบู่เละ  ไม่แข็งตัว

ข้อเสนอแนะ
1. ควรหาข้อมูล และทำการทดลองในรูปแบบอื่น ๆ  
2.ควรทดลองกับสมุนไพรชนิดอื่นๆ เช่น ว่านหางจระเข้ ขมิ้นชัน ดอกอัญชัน ฯลฯ


เอกสารอ้างอิง
1.http://frynn.com
2.www.senate.go.th/web-senate/research47/pdf/series1/c35.pdf
3.www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id
4. หนังสือเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ มัธยมศึกษาปีที่ 1

    
    




 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น